วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ส.12 30/08/2009 เรื่อง Windows XP

ส่วนประกอบของ Windows XP
เดสก์ทอป (Desktop) คือบริเวณพื้นที่หรือฉากของระบบปฏิบัติการ Windows เปรียบเสมือนส่วนบนของโต๊ะทำงาน ซึ่งบริเวณนี้เป็นส่วนแสดง Icon หรือ Windows ที่เปิดทำงาน และเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง ซึ่งแสดงผลให้สามารถรับรู้ได้ และผู้ใช้สามารถโต้ตอบการทำงานได้ ดังแสดงในรูป


Taskbar เป็นแถบแสดง Start Menu และหากมีโปรแกรมเปิดใช้งานอยู่ จะแสดงแถบชื่อโปรแกรมให้เห็นที่ Taskbar ดังรูป หากต้องการใช้งานโปรแกรมใด ให้คลิกที่แถบชื่อโปรแกรมนั้น และถ้ามีการปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ แถบของโปรแกรมนั้นจะหายไปจาก Taskbar


เมนู Start (Start Menu)ปุ่ม Start เป็นปุ่มสำหรับเรียก เมนูหลักของระบบปฏิบัติการ Windows XP ซึ่งจะประกอบด้วยเมนู (Menu) สำหรับเปิดเมนูย่อยหรือเรียกใช้โปรแกรมของระบบ Windows XPเมนูย่อย (Submenu) สำหรับเปิดเมนูย่อยหรือเรียกใช้โปแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้
การใช้งานโปรแกรมการเรียกใช้งานต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วเลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs จะปรากฏโปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องดังภาพข้างล่าง

หน้าต่าง (Windows)


1. ไตเติลบาร์ (Title bar) แสดงชื่อของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่

2. เมนูบาร์ (Menu Bar) แสดงเมนูของโปรแกรมใช้ในการเลือกคำสั่ง

3. แถบเครื่องมือ (Toolbar) เป็นรูปภาพเล็ก ๆ แทนคำสั่งใช้งานต่าง ๆ

4. แถบตำแหน่ง (Addressbar) แสดงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น

5. มินิไมซ์ (minimize) ปุ่มลดขนาดหน้าต่างหรือปิดหน้าต่าง

6. แมกซิไมซ์ (Maximize) ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ

7. ปุ่มปิดโปแกรม (Close) ใช้ในการปิดโปรแกรม

8. ไอคอน (Icon) คือ รูปสัญลักษณ์ที่ใช้เรียกโปรแกรม

9. แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้ในการเลื่อนหน้าจอไปซ้าย ขวา ขึ้นลงตามทิศทางลูกศร

10. แถบสถานะ (Status Bar) แสดงสถานะการทำงาน

ส.16 27/09/2009 เรื่อง หาคำศัพท์และงานบริการคอมพิวเตอร์

หาคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 10 คำ

ออกบริการคอมพิวเตอร์ภายในวิทยาลัย

ส.15 20/09/2009 เรื่อง What is Computer ?


computer
A programmable machine. The two principal characteristics of a computer are:
It responds to a specific set of
instructions in a well-defined manner.
It can
execute a prerecorded list of instructions (a program).
Modern computers are electronic and
digital. The actual machinery -- wires, transistors, and circuits -- is called hardware; the instructions and data are called software.
All general-purpose computers require the following hardware components:
memory : Enables a computer to store, at least temporarily, data and programs.
mass storage device : Allows a computer to permanently retain large amounts of data. Common mass storage devices include disk drives and tape drives.
input device : Usually a keyboard and mouse, the input device is the conduit through which data and instructions enter a computer.
output device : A display screen, printer, or other device that lets you see what the computer has accomplished.
central processing unit (CPU): The heart of the computer, this is the component that actually executes instructions.


ส.11 23/07/2009 เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


สัญญานไข้หวัด 2009 และอาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด 2009 สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 ที่ระบาดในประเทศเม็กซิโก อาการ ไข้หวัด 2009อาการไข้หวัด 2009 ในคนนั้นมีอาการคล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัด 2009อาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรังผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ไข้หวัด 2009 ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานานสัญญานเตือนภัย ไข้หวัด 2009 ที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้ารับการรักษา อย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้ ในเด็ก หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม มีไข้เฉียบพลัน หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่ เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง วิงเวียน หน้ามืด และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส.14 13/09/2009 เรื่อง การติดตั้ง WINDOWS XP

การติดตั้ง WINDOWS XP ตามตัวอย่างต่อไปนี้ใช้ แผ่น XP SERVICE PACK 2 ติดตั้งนะครับ แผ่น WINDOWS XP ที่ไม่ได้ดัดแปลงอะไรอะไรเลย(ก๊อปมาจากแผ่นแท้)ข้อดีคือค่อนข้างสเถียรครับ ใช้งานไปนานๆก็ไม่ค่อยจะมีปัญหาเออเร่ออะไรเริ่มติดตั้งเลยนะครับ1.ก่อนอื่นต้องตั้งบูตจากแผ่นซีดีก่อนนะครับต้องเซตให้คอมคุณบู๊ตจากไดว์ฟ CD ก่อนแต่ละเครื่องไม่เหมือนกันครับ เครื่องรุ่นใหม่ๆอาจะให้กด F8 หรือ F11เพื่อเลือกว่าจะเลือกบู๊ตจากไดว์ฟไหน หากคอมเก่าๆหน่อย ก็ต้องเข้าไบออสไปเซตก่อน การเข้าไบออสนั้นแต่ละเครื่องก็ไม่เหมือนกันอีกส่วนมากจะให้กดปุ่ม delete หรือ F2 ครับ กดตอนก่อนขึ้นโลโก้ windows นะครับแบบว่ากดเปิดเครื่องแล้วพอซัก 2วินาทีแล้วกดเลยครับ ก็จะเข้าหน้าไบออสครับ การเซตแต่ละเครื่องเขียนไม่ไหวครับมีหลายยี่ห้อเหลือเกิน ประมาณว่าเข้าไปหัวข้อ BOOT อะครับ2.เมื่อเซตบูตจากแผ่นแล้ว เมื่อเปิดเครื่องจะมีหน้าจอมีดำบอกเรา ประมาณว่า กดปุ่มใดก็ได้เพื่อบูตจากแผ่น CDก็ให้กด Enter เลยครับ3. ก็จะมีหน้าจอให้เรากด Enter เพื่อยืนยันการติดตั้ง Windows
4.แล้วก็กด F8 เพื่อยอมรับข้อตกลง (ปล.ใครเคยอ่านบ้าง)

5.แล้วก็จะแสดงหน้าว่าคุณมีฮาร์ดดิสอยู่กี่พาดิชั่น หากไม่มีซักพาดิชั่นก็กด C เพื่อสร้างพาดิชั่นครับ
หรือมีอยู่แล้วก็ให้กด D เพื่อลบพาดิชั่นครับ (แล้วค่อยสร้างใหม่)

6.กด Enter เพื่อยันยืนการลบ พาดิชั่น ต้องมั่นใจก่อนนะครับ ว่าเก็บงานของเราในไดว์ฟ C หมดแล้ว เพราะกด Enter ปุ๊บ
ไดว์ฟ C จะถูกล้างใหม่หมดเลยครับ

7.กด L เพื่อยืนยันการลบข้อมูล กด Esc เพื่อกลับไปหน้าที่แล้วเพื่อลงวินโดว์โดยไม่ล้างไดว์ฟ C (ไม่แนะนำครับ)

8.ลบเสร็จแล้วก็จะเห็นว่าไดว์ฟ C หายไปแล้ว ก็กด C ครับ เพื่อสร้างพาดิชั่นขึ้นมาใหม่ครับ

9.แล้วก็ใส่ขนาดไดว์ฟ C ที่เราต้องการครับ ไม่ต้องตามรูปนะครับ ในรูปแค่ 7กิ๊กครับ (หน่วยเป็น MB)

10.ให้เลือกว่าจะฟอแมทเป็นระบบไหนครับ ให้เลือกเป็น ระบบ NTFS นะครับ หากรีบก็ Quick เลยครับ
ข้อแตกต่างระหว่าง ฟอแมท แบบช้า กับแบบเร็ว (Quick)ผมไม่ทราบนะครับ

11.แล้วก็เริ่มฟอแมทครับ

12.เมื่อฟอแมทเสร็จแล้วก็จะเริ่มก๊อปปี้ไฟลลงเครื่องเราครับ

13.แล้วจะขึ้นหน้าให้เราเซตภาษาครับ ให้กด Customize เพื่อเพิ่มภาษาครับ

14.ให้กดแทบ Languages แล้วคลิกถูกทั้งสองชื่องดังรูปครับ แล้วกด Apply

15.แล้วคลิก แทบ Regional Options แล้วเลือกเป็น ภาษา Thai อันล่างก็เซตเป็น ประเทศ Thailand ตามรูปเลยครับ

16.แล้วคลิกแทบ Advanced เลือกเป็น Thai ตามรูปเลยครับ

17.ใส่รายละเอียดตามที่ต้องการเลยครับ

18.ตั้งชื่อคอมของคุณครับ

19.เลือกโซนเวลาครับ เมืองไทยก็ +07 ครับ

20.กำลังติดตั้งระบบNetworkครับ

21.เลือก Typical Settings ครับ

22.ใส่ชื่อ Workgroup ครับ

23.ลงเสร็จแล้วครับ กด Next เลยครับ

24.เลือก Not right now แล้วกด Next เลยครับ

25.เช็คการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต ให้กด Skip เพื่อข้ามไปเลยครับ

26.ถามเราว่าจะ register กับไมโครซอฟไหม เลือก No. not at this time แล้วกด Next ครับ

27.ใช่ชื่อของคุณครับ

28.กด Next เลยครับ

29.หากพบหน้านี้ให้เลือกข้อสองนะครับแล้วกด Next แล้วก็กดปิดไปเลยครับ

30.รำคาญเจ้าบอลลูนแจ้งเตือนกันไหมครับ มาจัดการปิดมันดีกว่าครับ

31.วิธีปิดการแจ้งเตือน ให้คลิกที่ Start ----->settings --->Control panel ตามรูปเลยครับ

ไหนๆก็เข้ามาแล้ว เซตกดปุ่ม ~ เพื่อเปลี่ยนภาษาด้วยเลยครับ เข้า Regional and Language Options แล้วเซตตามรูปเลยครับ

32.เอาไอคอนมาแสดงบนเดสท๊อป ให้คลิกขวาบนที่ว่างหน้าจอแล้วเลือก properties แล้วเซตตามรูปเลยครับ

33.ต่อไปเป็นการเซตค่าส่วนตัวนะครับ ทำตามหรือไม่ก็ได้ครับ หากต้องการทำตามก็ให้คลิกขวาที่ My computer แล้วเลือกตามรูปครับ
33.1 ปิด automatic update ซะเพื่อไม่ต้องอัฟเดท (อัฟทำไมเพราะวินโดว์ที่ใช้หนะดีอยู่แล้ว)

33.2 ปิดเอฟเฟคต่างๆเพื่อการใช้งานเร็วขึ้น

33.3 ต่อไปก็ย้าย My documents ไปไว้ในไดว์ฟ D เพื่อที่ว่าเวลาคอมมีปัญหาแล้วจะลงวินโดว์ใหม่ ก็ไม่ต้องเก็บงานอะไรมาก
เพราะงานอยู่ใน My documents ซื่งอยู่ในไดว์ฟ D ไม่หายอยู่แล้ว(นอกเสียจากว่า ฮาร์ดดิสเสียหรือฟอแมททั้งก้อน)

33.4 ปิด system restores ไดว์ฟอื่นๆซะ เปิดแค่ไดว์ฟ C ก็พอ เพื่อให้คอมทำงานได้เร็วขึ้นครับ เพราะไฟล์ระบบจะอยู่ในไดว์ฟ C เท่านั้น
ไดว์ฟอื่นจึงไม่จำเป็นต้องเปิดการใช้งาน restores ครับ

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส.13 06/09/2009 เรื่อง นำเสนองานเรื่องซีพียู


ซีพียู (CPU)• ซีพียู (CPU : Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผลกลาง เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งทำหน้าที่ คิด คำนวณ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ทั้งการคำนวณตัวเลขทางด้านคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operation) บวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณเชิงเปรียบเทียบข้อมูลทางด้านตรรกศาสตร์ (Logical Operation) มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ เมื่อคอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลใดๆ เข้ามาจัดเก็บ หรือพักไว้ในหน่วยความจำแล้วก็จะถูกส่งต่อให้ซีพียูประมวลผลก่อนเสมอความเร็วของซีพียูØ ตารางเรียกหน่วยวัด (คูณ) Ø Kilo K x1 milli Ø Mega M x1,000,000 micro Ø Giga G x1,000,000,000 Ø Tera T x1,000,000,000,000Ø ตารางเรียกหน่วยวัด (หาร)Ø m 1/1000Ø µ 1/1000,000Ø nano n 1/1000,000,000Ø pico p 1/1,000,000,000,000ความเร็ว Front Side Bus (FSB)• ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่ให้จังหวะในการทำงานแต่ FSB หากแต่เป็นความเร็วสุทธิ (effective bus speed) ที่เป็นผลมาจากการรับส่งข้อมูลมากกว่า 1 ครั้ง• ในขณะที่ซีพียูของ Intel จะใช้ความเร็ว FSB ประกอบกับเทคนิคที่เรียกว่า Quad-Pumped เพื่อช่วยให้สามารถรับส่งข้อมูลได้มากถึง 4 ครั้งในแต่ละลูกคลื่น• ซีพียูของ AMD จะใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงแบบ Hyper Transport ควบคู่ไปกับการทำงานของส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Integrated Memory Controller) ภายในซีพียู เข้ามาทำงานแทน FSB พร้อมๆ ไปกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่า Double Data Rate (DDR)• ปัจจุบันความเร็ว FSB จะอยู่ที่ 133 ถึง 400 MHz ขึ้นกับซีพียูและชิปเซ็ตที่ใช้ แต่บางครั้งอาจมีการบอกเป็นความเร็ว FSB ที่สูงกว่านี้ เช่น 667, 800, 1066, 1333 และ 1600 MHzระบบบัส HyperTransport มาตรฐาน 1.x, 2.0, 3.0 และ 3.1o · HyperTransport 1.x (1.0x และ 1.1) เป็นมาตรฐานในยุคแรก ซึ่งสนับสนุนความเร็วสูงสุดที่ 800 MHz (ความเร็วสุทธิ 1600 MHz DDR)o · HyperTransport 2.0 เป็นมาตรฐานในยุคต่อมา ซึ่งสนับสนุนความเร็วที่ 1.0, 1.2 และ 1.4 GHz ที่ความเร็วสูงสุด 1.4 GHz (ความเร็วสุทธิ 2.8 GHz DDR) o · HyperTransport 3.1 เป็นมาตรฐานล่าสุด ซึ่งสนับสนุนความเร็วที่ 2.8, 3.0, และ 3.2 GHz ที่ความเร็วสูงสุด 3.2 GHz (ความเร็วสุทธิ 6.4 GHz DDR) o · HyperTransport 3.0 เป็นมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายในซีพียู AMD ซึ่งสนับสนุนความเร็วที่ 1.8, 2.0, 2.4 และ 2.6 GHz ที่ความเร็วสูงสุด 2.6 GHz (ความเร็วสุทธิ 5.2 GHz DDR)หน่วยความจำแคช (Cache Memory)l หน่วยความจำแคช (Cache Memory) จะทำหน้าที่เสมือนเป็นกระดาษช่วยจำคอยจดบันทึกข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ที่ซีพียูมักมีการเรียกใช้งานซ้ำๆ บ่อยๆ ไว้ชั่วคราว เพื่อช่วยลดภาระในการติดต่อหรือเข้าถึงข้อมูลภายในแรม (RAM)l · L1 Cache ตำแหน่งจะอยู่ชิดติดกับหน่วยประมวลผลภายในซีพียู และมีความเร็วในการทำงานเทียบเท่าซีพียู มีขนาดตั้งแต่ 8 KB ไปจนถึง 128 KB l · L2 Cache ตำแหน่งจะอยู่ถัดออกมาจาก L1 ใช้เก็บข้อมูลรองจาก L1 โดยถ้าซีพียูเรียกหาl มีขนาดความจุที่ใหญ่กว่า คือ ขนาดตั้งแต่ 64 KB ไปจนถึง 8 MB เลยทีเดียวซีพียู Pentium Extreme Editionu เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium ในตระกูล Extreme Edition ที่ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Hi-End สมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการประมวลผลภาพวิดีโอ และระบบเสียงแบบ High Definition ทั้งงานด้านออกแบบและเกมส์ต่างๆ โดยเป็นผมมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างสถาปัตยกรรมแบบ Dual-Core กับเทคโนโลยี Hyper-Threading ที่ช่วยให้สามารถประมวลผลได้ถึงคราวละ 4 Threads ในเวลาเดียวกันซีพียู Core 2n Core 2 Duo (Allendale-65 nm)เป็น Dual-Core สำหรับ Core 2 บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nm ใช้รหัส Processor Number E4xxx ความเร็วสูงสุด 2.6 GHzn Core 2 Duo (Conroe-65 nm)เป็น Dual-Core สำหรับ Core ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nm ใช้รหัส Processor Number E6xxx ความเร็วสูงสุด 3.0 GHzn Core 2 Duo (Wolfdale 3M-45 nm)เป็น Dual-Core (Wolfdale 45 nm) ที่ได้ปรับลดขนาด L2 Cache ลงเหลือเพียง 3 MB (แต่ละคอร์ใช้งานร่วมกัน) ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 45 nm ใช้รหัส Processor Number E7xxx ความเร็วสูงสุด 2.8 GHzCore 2 Duo (Wolfdale 45 nm)เป็น Dual-Core ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 45 nm ใช้รหัส Processor Number E8xxx ความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ในรุ่น E8600ใช้ FSB 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB (แต่ละคอร์ใช้งานร่วมกัน)Core 2 Extreme (Dual-Core)เป็น Core 2 Extreme บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nm ใช้รหัส Processor Number X6xxx ความเร็ว 2.93 GHzCore 2 Quad (Kentsfield -65 nm)เป็น Core - Quad (ภายในเสมือนมีซีพียู Core 2 Duoรหัส Conroe อยู่ 2 ตัว รวมเป็น 4 คอร์)ในตระกูล Core 2 บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nm ใช้รหัส Processor Number Q6xxx ความเร็ว 2.66 GHzCore 2 Duo (Wolfdale 45 nm)เป็น Dual-Core ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 45 nm ใช้รหัส Processor Number E8xxx ความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ในรุ่น E8600ใช้ FSB 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB (แต่ละคอร์ใช้งานร่วมกัน)Core 2 Extreme (Dual-Core)เป็น Core 2 Extreme บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nm ใช้รหัส Processor Number X6xxx ความเร็ว 2.93 GHzCore 2 Quad (Kentsfield -65 nm)เป็น Core - Quad (ภายในเสมือนมีซีพียู Core 2 Duoรหัส Conroe อยู่ 2 ตัว รวมเป็น 4 คอร์)ในตระกูล Core 2 บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nm ใช้รหัส Processor Number Q6xxx ความเร็ว 2.66 GHzบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และฐานรอง (Socket)u แบบ BGA (Ball Grid Array)บรรจุภัณฑ์แบบมีจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆที่ด้านหนึ่งจะมีวัสดุทรงกลมนำไฟฟ้าขนาดเล็กเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบทำหน้าที่เป็นขาของชิปu แบบตลับ (Cartridge)บรรจุภัณฑ์แบบนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า SECC (Single Edge Connector Cartridge) มักถูกนำไปใช้กับซีพียูรุ่นเก่า โดยใช้เสียบลงบนสล็อตบนเมนบอร์ดu แบบPGA (Pin Grid Array) บรรจุภัณฑ์แบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันมานานแล้ว และได้ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆมากมาย เช่น PPGA OmPGAและ FC-PGAu แบบ LGA (Land Grid Array)เป็นบรรจุภัณฑ์ล่าสุดที่ Intel นำมาใช้กับซีพียูใหม่ๆทุกรุ่นรวมถึงรุ่นใหญ่ของ AMD อย่าง Athlon 64 Quad FX, Phenom FX และ Opteronเทคโนโลยี High-K ในกระบวนการผลิตซีพียูในกระบวนการผลิต 45nm ของซีพียู Intel เป็นการปฏิวัติโครงสร้างภายในสารกึ่งตัวนำที่ใช้ทำทรานซิสเตอร์เสียใหม่ จากเดิมที่ใช้ Polysilicon Gate (NMOS + PMOS) มาเป็น Metal Gate และเปลี่ยน Dielectrics Gate มาเป็น High-K Gate Oxide ที่ใช้ Hafnium เป็นวัสดุ ซึ่งมีค่าคงไดอิเล็กตริกสัมพัทธ์ที่สูง ช่วยให้สามารถลดการรั่วไหลของอิเล็กตรอนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานลงได้มากซีพียู Intelอินเทล (Intel Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูเก่าแก่และมีการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086,8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมารวมทั้งซีพียูบนโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบใหม่อย่าง Nehalem ที่จะมาพร้อมกับแบรนด์ใหม่ในชื่อว่า Core i7ซีพียู Celeron D และ Celeron Dual-Core• Celeron D (Prescott-90 nm)เป็นการนำเอา Pentium 4 (Prescott-90 nm) บนสถาปัตกรรม NetBurst มาลดขนาด L2 Cache ลงจากเดิม 1 MB ให้เหลือเพียง 256 KB ความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 3.33 GHz• Celeron D (Cedar Mill-65 nm)เป็นการนำเอา Pentium 4 (Cedar Mill-65 nm) บนสถาปัตกรรม NetBurst มาลดขนาด L2 Cache ลงจากเดิม 2 MB ให้เหลือเพียง 512 KB • Celeron D (Conroe-L/65 nm)เป็น Celeron D รุ่นแรกบนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture (เช่นเดียวกับ Core 2 Duo) ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 0.065 ไมครอน หรือ 65 nmn Celeron Dual-Core (Allendale-65 nm)เป็น Celeron แบบ Dual-Core บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nmn Celeron Dual-Core (Merom 2M-65 nm) สำหรับ Notebookเป็น Celeron Dual-Core สำหรับ Notebook บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nmชุดคำสั่ง MMX, SSE (Streaming SIMD Extensions), SSE2, SSE3 และ SSE4n MMX เป็นชุดคำสั่ง 57 คำสั่งสำหรับงานมัลติมีเดียที่ถูกเพิ่มเข้ามาในซีพียูส่วน SSE เป็นชุดคำสั่งที่ถูกเพิ่มเข้ามาอีก 70 คำสั่ง จากนั้นก็พัฒนาต่อมาเป็น SSE2 โดยเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 144 คำสั่ง รวมถึงเทคนิคในการประมวลผลแบบ SIMD (Single Instruction Multiple Data)ผลลัพธ์ก็คือความสามารถในการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ให้เสร็จได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็วไป และล่าสุด SSE4 ที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี Advanced Digital Media Boost ของ Intel (เพิ่มเติมชุดคำสั่งเข้าไปอีก 47 คำสั่ง)SSE3 ก็ได้เพิ่มเติมชุดคำสั่งพิเศษ PNl (Prescott New Instructions) เข้าไปอีก 13 คำสั่งซีพียู Pentium 4ซีพียูในตระกูล Pentium 4 ได้ถูกเพิ่มเติมเทคโนโลยี Hyper-Threading (HT) เข้าไปเพื่อช่วยให้สามารถประมวลผลเธรดหรือชุดคำสั่งย่อยต่างๆ ไปพร้อมๆ กันได้เสมือนซีพียู 2 ตัวช่วยกันทำงาน ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในแบบ Multitasking หรือการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ดียิ่งขึ้นIntel Virtualization Technology (VT)n เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบสามารถจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้นมา เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานกับหลายๆ ระบบปฏิบัติการได้พร้อมๆ กัน โดยไม่รบกวนกันเสมือนหนึ่งว่าเป็นคนละเครื่องกันซีพียู Pentium D• นับเป็นก้าวแรกสู่ยุค Dual & Muti-Core ของ Intel โดย Pentium D ถูกออกแบบมา เพื่อการทำงานที่ต้องการใช้การ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การตัดต่อวีดีโอในระหว่างดาวน์โหลดเพลงไปด้วยและการสร้างงานด้านกราฟิกที่จะต้องใช้โปรแกรมหลายตัวไปพร้อมๆ กันการประมวลผลของซีพียูที่มีโครงสร้างแบบ Dual-Core และ Double-Core· (ซ้าย) Pentium D (Smithfield-0.09 ไมครอน) ซึ่งมีโครงสร้างแบบ Dual-Core จะประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามาและส่งออกไปพร้อมกันจากทั้ง 2 Core· (ขวา) Pentium D (Presler-0.065 ไมครอน) ซึ่งมีโครงสร้างแบบ Double-Core (Die ถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน ทำงานอิสระจากกัน) หรือกลุ่มของโครงสร้างแบบ Multi-Chip จะประมวลผลข้อมูลที่รับ เข้ามาและส่งออกไปแบบตัวใครตัวมัน ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของการประมวลผลที่ดีกว่าซีพียู Pentium Dual-CorePentium Dual-Core (Allendale-65 nm)เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium รุ่นแรก บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ที่ใช้กับ Core 2 DuoPentium Dual-Core (Wolfdale 2M-45 nm)เป็น Pentium Dual-Core บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture รุ่นต่อมา โดยการนำ Core 2 Duo (Wolfdale-45 nm) มาปรับลดขนาด L2 Cache ลงเหลือเพียง 2 MB

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส.10 16/07/2552 เรื่อง Hard DisK


Hard Disk
ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น บระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัท IBM เรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchestersต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ จานบันทึกแบบอ่อนตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุง สองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์
ขนาดและความจุ
ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 1.5 เทระไบต์ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)
ปัจจุบันภายในปี 2551 มีประเภทของฮาร์ดดิสก์ต่อไปนี้ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop PC หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ Server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 1 TBขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GBขนาดความหนา1.8 นิ้ว: 54 มิลลิเมตร×8 มิลลิเมตร×71 มิลลิเมตร= 30.672cm³ขนาดความหนา1 นิ้ว: 42.8 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×36.4 มิลลิเมตรขนาดความหนา0.85 นิ้ว: 24 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×32 มิลลิเมตรยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN storage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล
หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจกสำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันทีแผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 ถึง 200 จิกะไบต์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไปเราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคืออัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาทีเวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที
การเก็บข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

ส.6 18/06/52 เรื่อง ซ่อม-ประกอบเครื่องคอมฯ

ซ่อม เปลี่ยน อะไหล่เครื่องคอมฯ ตรวจเช็คอาการคอมฯ

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส.9 09/07/2552 เรื่อง เมนบอร์ด

ชิปเซ็ต(Chip Set)
ชิปเซ็ตจะถือว่าเป็นส่วนสำคัญของเมนบอร์ดอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ชิปเซ็ตจะเป็นตัว คอยเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์กับด้านความเร็วสูงกับด้านความเร็วที่รองลงไป ให้ติดต่อสื่อสารกันอย่างสัมพันธ์ กันเพราะความ สามารถต่าง ๆ ที่เมนบอร์ดมีนั้นส่วนใหญ่ชิปเซ็ตจะเป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่ระบบบัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ CPU ได้ของยี่ห้อใดบ้างหรือให้รองรับหน่วย ความจำประเภทใด , กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง และอีกหลาย ๆคุณสมบัติด้วยกันที่มีอยู่ใน ตัวของชิปเซ็ต

ตัวอย่างชิปเซ็ต
โครงสร้างของชิปเซ็ตพอจะแยกเป็นได้ 2 โครงสร้างใหญ่ ๆ คือ
North Bridge และ South Bridge
Accelerated Hub Architecture
North Bridge และ South Bridge
ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec
โครงสร้างการทำงานของชิปเซ็ต
North Bridge , South Bridge
Accelerated Hub Architecture
โครงสร้างของชิปเซ็ตแบบ Accelerated Hub Architectureนี้จะมีโครงสร้างที่ คล้ายกับ แบบ North Bridge , South Bridge แต่จะมี Firmware Hub ที่เป็นส่วน ที่ใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัย(Security) ให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย ชิปเซ็ตที่มีโครงสร้างแบบนี้จะมีระบบบัสแบบ PCI ที่เชื่อมต่อระหว่าง Graphics กับ I/O Controller นั้น ที่มีความกว้างของบัส 32 บิต ความเร็ว 66 MHz ทำให้มีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันถึง 264 MB./Sec ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแบบ North Bridge , South Bridge เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
โครงสร้างการทำงานของชิปเซ็ต

Mainboard Block Diagram

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส.8 2/07/2009 เรื่อง ปัญหาของหน่วยประมวลผลกลาง

ปัญหาของหน่อยประมวลผลกลาง
1.ปัญหาจากความร้อนในขณะที่ใช้งาน (พัดลมไม่ทำงาน) จนทำให้เกิดอาการไหม้ของซีพียูได้
การแก้ไขปัญหา : ข้อแนะนำไม่ควรเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือ Overlock โดยไม่จำเป็น แต่ถ้าซีพียูเกิดอาการไหม้ไปแล้วให้ทำการส่งศูนย์ซ่อมเพื่อทำการซ่อมต่อไป

2.ปัญหาจากไฟฟ้าลัดวงจรของซีพียู
การแก้ไขปัญหา :
ลองถอดเข้าถอดออกหรือนำไปเสียบกับเครื่องอื่น ๆ ถ้ายังไม่สามารถใช้งานได้หรือตรวจสอบแบบละเอียดไม่ได้ ให้นำไปร้านที่ซื้อุปกรณ์มาตรวจสอบให้ หากมีปัญหาก็ส่งเคลมอุปกรณ์ชิ้นนั้นทันทีหากมีประกันอยู่ แต่ถ้าหมดประกันแล้ว งานนี้ซื้อใหม่ดีกว่า

3.ปัญหาจากSink กับ CPU จะไม่แนบกัน 100%
การแก้ไขปัญหา : ต้องใช้ของเหลวมาช่วยส่งผ่านความร้อนที่เรียกว่า Silicone

4.ปัญหาจากการที่ซีพียูมีขาบางขาเกิดอาการเบี้ยว
การแก้ไขปัญหา : ต้องพยามยามดดัดขาให้ดี และต้องไม่ทำให้ขาของซีพียูหักด้วย

5.ปัญหาเกิดจากการที่ซีพียูเกิดอาการเสียเลย
การแก้ไขปัญหา : นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาได้ยาก ดังนั้น ให้ลองดูให้ดี ๆ ว่าเสียจริง ๆ หรือป่าว ให้ลองถอดออกแล้วใส่ใหม่ หรือลองใส่กับเครื่องอื่นดู แต่ถ้าเสียจริง ๆ ให้ส่งศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ชิ้นนั้นทันทีหากมีประกันอยู่เพื่อทำการตรวจซ่อมต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ส.7 25/06/2009 เรื่อง ขนมไทย

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมาว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหากสำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณ ได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า "หนม"เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกันอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม" ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม" ในภาษาเขมรก็เป็นได้ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไลในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรมขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

ข้าวต้มมัด
ทองเอก
ข้าวต้มมัด
กาลาแม

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ส.5 11/06/2009 เรื่อง Ascii Code และ Hard Were

Ascii Code

อุทัย สุขสมบูรณ์

1011001100011011111011011000101101000011

01010011000110110100010101010011100000110101110110011011110000111100110100110111
U-thai Suksomboon

101010101011010000101110000101101000011010010110

11001010101011101101011011001110111101101011011001000110111101101111011001110110

Hardwere

ความรู้เกี่ยวกับซีพียู
หน่วยประมวลผลกลาง


หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิคที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s
หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ
โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
ตีความชุดคำสั่ง (decode)
ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็นห้ากลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ โดยทำงานทีละคำสั่ง จากคำสั่งที่เรียงลำดับกันไว้ตอนที่เขียนโปรแกรม
Fetch - การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของระหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)
Decode - การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
Execute - การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
Memory - การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline
การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP)
โดยการทำงานเหล่านี้ถ้าเป็นแบบพื้นฐานก็จะทำงานกันเป็นขั้นตอนเรียงตัวไปเรื่อยๆ แต่ในหลักความเป็นไปได้คือการทำงานในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระออกจากกัน จึงได้มีการจับแยกกันให้ทำงานขนานกันของแต่ละส่วนไปได้ หลักการนี้เรียกว่า pipeline เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) โดยข้อมูลที่เป็นผลจากการคำนวณของชุดก่อนหน้าจะถูกส่งกลับไปให้ชุดคำสั่งที่ตามมาในช่องทางพิเศษภายในหน่วยประมวลผลเอง

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline
การทำงานแบบขนานนี้สามารถทำให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกคือเพิ่มการทำงานแต่ละส่วนออกเป็นส่วนที่เหมือนกันในทุกกลุ่มแต่ให้ทำงานคนละสายชุดคำสั่งกัน วิธีการนี้เรียกว่าการทำหน่วยประมวลผลให้เป็น superscalar วิธีการนี้ทำให้มีหลายๆ ชุดคำสั่งทำงานได้ในขณะเดียวกัน โดยงานหนักของ superscalar อยู่ที่ส่วนดึงชุดคำสั่งออกมา (Dispatcher) เพราะส่วนนี้ต้องตัดสินใจได้ว่าชุดคำสั่งอันไหนสามารถทำการประมวลผลแบบขนานได้ หลักการนี้ก็เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) เช่นกัน

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline และเป็น superscalar
การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP)
การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละโปรแกรมสามารถแบ่งตัวออกได้เป็นระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (Thread) โดยในแต่ละกลุ่มสามารถทำงานขนานกันได้ (TLP: Thread Level Parallelism)